สักการะพระเจ้าเก้าตื้อ ณ วัดสวนดอก

วัดสวนดอก วัดขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนถนนสุเทพ เป็นวัดที่นักท่องเที่ยวต่างพากันมาเยือน วัดสวนดอกแห่งนี้เดิมที พระเจ้ากือนา ทรงพระราชทานนามไว้ว่า วัดบุปผาราม ต่อมานิยมเรียกสั้นๆ ว่า “วัดสวนดอก” แทน ทำให้ชื่อ บุปผาราม ไม่ค่อยคุ้นหูกัน คำว่าบุปผารามเป็นภาษาบาลีเมื่อแปลเป็นภาษาไทยจะหมายถึงสวนดอกไม้ ชาวบ้านเลยนิยมเรียกวัดแห่งนี้ว่าสวนดอก

ประวัติวัดสวนดอก
ปี 1914 สร้างเป็นวัดบุปผาราม (วัดสวนดอกไม้พยอม)
ปี 2450 สร้างกู่เจ้านายฝ่ายเหนือ เพื่อรวบรวมพระอัฐิของ เจ้าผู้ครอง
นครเชียงใหม่ และ พระประยูรญาติ มาประดิษฐานรวมกัน
ปี 2474 ครูบาศรีวิชัยเริ่มบูรณะวัดสวนดอก
ปี 2485 เกิดสงครามโลกครั้งที่2 วัดถูกทิ้งร้าง ยอดฉัตรพระเจดีย์ถูก
ขโมย
ปี 2526 เปิดวิทยาลัยสงฆ์ล้านนา จนปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์
ปี 2101-2317 เชียงใหม่อยู่ใต้การปกครองของพม่า
ปี 2489 วัดเริ่มกลับมา
ปี 2450 สร้างกู่เจ้านายฝ่ายเหนือ เพื่อรวบรวมพระอัฐิของ เจ้าผู้ครอง
นครเชียงใหม่ และ พระประยูรญาติ มาประดิษฐานรวมกัน
ปี 2474 ครูบาศรีวิชัยเริ่มบูรณะวัดสวนดอก
ปี 2485 เกิดสงครามโลกครั้งที่2 วัดถูกทิ้งร้าง ยอดฉัตรพระเจดีย์ถูก
ขโมย
ปี 2526 เปิดวิทยาลัยสงฆ์ล้านนา จนปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์
ปี 2101-2317 เชียงใหม่อยู่ใต้การปกครองของพม่า
ปี 2489 วัดเริ่มกลับมา
สิ่งน่าสนใจภายในวัดสวนดอก
วัดสวนดอกในอดีตนั้นป็นสวนดอกไม้ (ต้นพยอม) ของเจ้านายฝ่ายเหนือใน ราชวงศ์เม็งราย โดยในปี พ.ศ. 1914 (ศักราชนี้ถือตามหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ของพระรัตนปัญญาเกตุ) พระเจ้ากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่ง ราชวงศ์เม็งราย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็น “พระอารามหลวง” เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของ “พระมหาเถระสุมน” ผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ในแผ่นดินล้านนา และสร้างองค์พระเจดีย์เพื่อประดิษฐาน “พระบรมสารีริกธาตุ” 1 ใน 2 องค์ ที่ “พระมหาเถระสุมน” อัญเชิญมาจากสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1912 (องค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ในพระเจดีย์ ใน วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร)
ในสมัย ราชวงศ์เม็งราย วัดสวนดอก มีความเจริญรุ่งเรืองมาก แต่หลังจากสิ้น ราชวงศ์เม็งราย บ้านเมืองตกอยู่ในอำนาจพม่า ทั้งเกิดจลาจลวุ่นวาย วัดนี้จึงกลายสภาพเป็นวัดร้างไป วัดสวนดอก ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่อีกครั้ง ในรัชสมัย พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ แห่ง ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน) และได้รับการทำนุบำรุงจาก เจ้านายฝ่ายเหนือ และประชาชนเชียงใหม่มาโดยตลอด
วัดสวนดอก ต่อได้รับการบูรณะครั้งสำคัญ 2 ครั้ง ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2450 พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญรวบรวมพระอัฐิ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และ พระประยูรญาติ มาประดิษฐานรวมกัน และต่อมาอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2475 เป็นการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระวิหารโดย ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา
ประวัติโดยย่อที่มาของวัดสวนดอก : ศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนาในล้านนา มาตั้งแต่ จากสวนดอกไม้สู่วัด
พระวิหารหลวงใหญ่ที่สุดในล้านนาเป็นวิหารหลังใหญ่มากๆ ใหญ่ที่สุดในล้านนา สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2475 โดยเจ้าแก้วนวรัฐ และครูบาศรีวิชัย เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสถาปัตยกรรมล้านนาขนาดใหญ่มาก กว้าง 25 เมตร ยาวถึง 66 เมตร หน้าบันไดเป็นลายปูนปั้นพรรณพฤกษาและเทพพนมที่สวยงาม จุดเด่นของวิหารหลังนี้คือเป็นวิหารโถง ไม่มีฝาผนัง มีแต่เหล็กดัดกันขโมยโล่งๆ (ในอดีตคงไม่ได้ติดเหล็กดัดกันขโมย) ภายในประดิษฐานพระประธาน “พระเจ้าค่าคิง” พระพุทธรูปปางสมาธิ
![]() |
วัดสวนดอก
◀️◀️◀️◀️◀️
พระเจดีย์ใหญ่ทรงลังกา



พระเจดีย์ใหญ่ทรงลังกาบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1914 ในรัชกาลของพระเจ้ากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่ง ราชวงศ์เม็งราย โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง “พระอารามหลวง” โดยโปรดเกล้าให้สร้าง “พระเจดีย์ทรงลังกา” ขึ้นเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระมหาเถระสุมนได้อัญเชิญมาจากสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1912 ซึ่งแต่เดิมมีเจดีย์แบบสุโขทัย (ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) อยู่ทางทิศตะวันตกขององค์พระเจดีย์ใหญ่ แต่ได้ปรักหักพังลง พระเจดีย์องค์ใหญ่สูง 24 วา ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478
พระเจ้าเก้าตื้อ
พระเจ้าเก้าตื้อ เป็นพระพุทธรูปหล่อองค์ใหญ่ สร้างด้วยโลหะหนัก 9 โกฏิตำลึง (“ตื้อ” เป็นคำในภาษาไทยเหนือ แปลว่า หนักพันชั่ง) พระญาเมืองแก้ว กษัตริย์องค์ที่ 13 แห่ง ราชวงศ์เม็งราย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2047 “พระเจ้าเก้าตื้อ” เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนฝีมือช่างล้านนาและสุโขทัย หน้าตักกว้าง 8 ศอก หรือ 3 เมตร สูง 4.70 เมตร เพื่อเป็นพระองค์ประธานใน วัดพระสิงห์ แต่เนื่องมีน้ำหนักมากไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ จึงได้ถวายเรือนหลวงของพระองค์เป็นพระวิหาร พระราชทานชื่อว่า “วัดเก้าตื้อ” แทน ซึ่งต่อมาภายหลังได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ในสมัย ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ในปี พ.ศ. 2475 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478พระเจ้าเก้าตื้อ

พระพุทธปฏิมาค่าคิง (เท่าพระวรกาย) เป็นพระประธานในพระวิหารหลวง สร้างในสมัยพระเจ้ากือนา พ.ศ. 1916 หล่อด้วยทองสำริด ขนาดเท่าพระวรกายของพระเจ้ากือนา หน้าตักกว้างสองเมตร สูงสองเมตรครึ่ง เรียกชื่อตามภาษาถิ่นล้านนาว่า “พระเจ้าค่าคิง"


กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ
กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2450 โดยพระดำริใน พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้านายฝ่ายเหนือใน ราชตระกูล ณ เชียงใหม่ ซึ่งทรงเห็นว่าทำเลที่ตั้งของวัดสวนดอกกว้างขวาง จึงโปรดให้อัญเชิญรวบรวมพระอัฐิของ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และ พระประยูรญาติ มาประดิษฐานรวมกัน ณ ที่นี่ รวมทั้งได้ประทานทรัพย์ให้การทำนุบำรุงมาโดยตลอดพระชนม์ชีพ หลังจาก พระราชชายา เจ้าดารารัศมี สิ้นพระชนม์ ได้มีการแบ่งพระอัฐิของพระองค์มาประดิษฐานไว้ ณ กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ แห่งนี้ (อีกส่วนหนึ่งแบ่งประดิษฐานไว้ใน สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร) ปัจจุบัน กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ แห่งนี้ ได้ถูกจดทะเบียนให้เป็นโบราณสถานสำคัญ ภายใต้การกำกับดูแลของกรมศิลปากร ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478
ถ้าจะรู้จักเชียงใหม่ ต้องรู้จักต้นตระกูลเชียงใหม่
กู่บรรจุอัฐิเชื้อพระวงศ์เจ้านายฝ่ายเหนือต้นตระกูล ณ เชียงใหม่ ซึ่งในช่วงจัดงานประเพณีปีใหม่เมือง ก็จะมีการบวงสรวงสักการะดวงวิญญาณของเจ้าผู้ครองนครและเชื้อพระวงศ์ ซึ่งทำเป็นประจำทุกปี

▼คลิปเพิ่มเติมเจ้าค่ะ▼
สมาชิก
นางสาวพนิดา อินทมาตร์
นางสาวกรกมล คันธรส
นางสาวพรจิรา มุ้งเงิน
นางสาวขนิษฐา สุวรรณาสังข์
นางสาวณิชาภัทร ใจคำ